เมนู

ส่วนภิกษุใดเป็นพระอริยะชั้นใดชั้นหนึ่งมีพระโสดาบันเป็นต้น
ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเป็นพระโสดาบันเป็นต้น ภิกษุนี้ ชื่อว่า
ผู้มีความปรารถนาน้อยในอธิคม เหมือนกุลบุตร 3 คน แลเหมือน
ช่างหม้อ ชื่อฆฏีการะ. ก็ในอรรถนี้ แม้ปุถุชนผู้ศึกษาประกอบด้วย
ความไม่โลภมีกำลังกล้า ได้อาเสวนะแล้ว ก็พึงทราบว่าเป็นผู้มักน้อย.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสนฺตุฏฺฐิตา ได้แก่ ความโลภกล่าวคือความไม่สันโดษ
อันเกิดแก่บุคคลผู้เสพคบหา เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลผู้ไม่สันโดษ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สนฺตุฏฺฐิตา ได้แก่ ความสันโดษกล่าวคือความไม่โลภ
อันเกิดแก่บุคคลผู้เสพคบหา เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลผู้สันโดษ.
บทว่า สนฺตุฏฺฐสฺส ได้แก่ผู้ประกอบด้วยความสันโดษในปัจจัย
ตามมีตามได้ ความสันโดษนั้นมี 12 อย่าง คือ ความสันโดษในจีวร

3 อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ 1 ยถาพลสันโดษ 1 ยถาสารุปป
สันโดษ 1. ในบิณฑบาตเป็นต้นก็เหมือนกัน. สันโดษนั้นมีการ
พรรณนาตามประเภทดังต่อไปนี้ ภิกษุในพระศาสนานี้ ได้จีวรดีหรือ
ไม่ดีก็ตาม เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั่นแล ไม่ปรารถนา
จีวรอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น.
ฝ่ายภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีกำลังทุรพลตามปกติ หรือถูกอาพาธ
และชราครอบงำ ห่มจีวรหนัก ย่อมลำบาก เธอเปลี่ยนจีวรนั้นกับ
ภิกษุผู้ชอบพอกัน ถึงจะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรเบา ก็เป็นผู้
สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น. ภิกษุอีกรูป
หนึ่ง เป็นผู้ได้ปัจจัยที่ประณีต ได้จีวรแผ่นผ้าที่นำมาแต่เมืองโสมาร
เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีราคา ก็หรือว่า ได้จีวรเป็นอันมาก
ให้ไปด้วยคิดว่า จีวรนี้สมควรแก่พระเถระผู้บวชนาน นี้สมควรแก่
ภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต นี้สมควรแก่ภิกษุผู้เป็นไข้ นี้สมควรแก่ภิกษุ
ผู้มีลาภน้อย แล้วจึงเลือกเอาจีวรเก่าของภิกษุเหล่านั้น หรือผ้า
เปรอะเปื้อนจากกองขยะ เป็นต้น (หรือผ้าตกตามร้านตลาด) กระทำ
เป็นสังฆาฏิด้วยผ้าเหล่านั้น แม้ครองเองก็เป็นผู้สันโดษทีเดียว นี้
ชื่อว่ายถาสารุปปสันโดษ ของภิกษุนั้น. อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ได้
บิณฑบาตอันเศร้าหมองหรือประณีต เธอย่อมยังอัตภาพให้เป็นไป
ด้วยบิณฑบาตนั้นนั่นแล ไม่ปรารถนาบิณฑบาตอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ
นี้ชื่อว่ายถาลาภสันโดษของภิกษุนั้น อนึ่ง ภิกษุใดบิณฑบาตที่แสลง
ต่อปกติของตน หรือแสลงแก่ความป่วยไข้ บริโภคแล้วไม่ผาสุก เธอ
ให้บิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน แล้วฉันโภชนะอันเป็นสัปปายะ
จากมือของภิกษุนั้น แม้กระทำสมณธรรมอยู่ ก็เป็นผู้สันโดษแท้

นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ ในบิณฑบาตของภิกษุนั้น. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ได้บิณฑบาตอันประณีตเป็นอันมาก เธอถวายบิณฑบาตนั้น แก่
พระเถระผู้บวชนาน ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีลาภน้อย และผู้เป็นไข้ เหมือน
จีวร แม้ฉันอาหารจากสำนักของภิกษุเหล่านั้น หรืออาหารที่ระคนกัน
เพราะเที่ยวบิณฑบาตมา ก็ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษแท้. นี้ชื่อว่า ยถาสารุปป-
สันโดษในบิณฑบาตของภิกษุนั้น.
อนึ่งภิกษุในพระศาสนานี้ ได้เสนาสนะที่น่าชอบใจ. หรือ
ไม่น่าชอบใจ. เธอไม่ให้ความดีใจเกิดขึ้น ไม่ให้ความขุ่นใจเกิดขึ้น
ย่อมยินดีด้วยเสนาสนะ ตามที่ได้เท่านั้น โดยที่สุดแม้เครื่องลาดทำ
ด้วยหญ้า. นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น.
อนึ่ง ภิกษุได้เสนาสนะ. แสลงแก่ปกติของตน หรือแสลงแก่
ความเป็นไข้ของตน ซึ่งเธออยู่ ไม่มีความผาสุก เธอให้เสนาสนะนั้น
แก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้จะอยู่ในเสนาสนะอันเป็นสัปปายะ ก็เป็น
ผู้สันโดษแท้ นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น.
ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เสนาสนะอันประณีต เป็นอันมาก
มีถ้ำมณฑป และเรือนยอดเป็นต้น เธอถวายเสนาสนะแม้เหล่านั้น
แก่พระเถระผู้บวชนาน ผู้พหุสูต ผู้มีลาภน้อย และผู้เป็นไข้เหมือน
ดังจีวร ถึงจะอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ก็เป็นผู้สันโดษแท้ นี้ ชื่อว่า ยถาสารุปป-
สันโดษในเสนาสนะ
ของภิกษุนั้น. แม้ภิกษุใด พิจารณาว่า ธรรมดา
ว่าเสนาสนะ. อันดีที่สุด เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ถีนมิทธะ ย่อม
ครอบงำสำหรับผู้นั่งในที่นั้น สำหรับผู้นอนหลับแล้วตื่นขึ้น วิตก

อันลามกย่อมปรากฏ เธอไม่รับเสนาสนะเช่นนั้น แม้ที่มาถึงแล้ว
เธอปฏิเสธเสนาสนะนั้น ถึงจะอยู่ในกลางแจ้ง มีอยู่โคนไม้เป็นต้น
ก็เป็นผู้สันโดษแท้ นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะของ
ภิกษุนั้น.
อนึ่งภิกษุในพระศาสนานี้ ได้เภสัชอันเศร้าหมอง หรือประณีต
เธอย่อมยินดีด้วยเภสัชที่ตนได้นั้นนั่นแล ไม่ปรารถนาเภสัชอื่น
ถึงจะได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่ายถาลาภสันโดษ ในคิลาปัจจัยของภิกษุนั้น.
อนึ่งภิกษุใด ต้องการน้ำมันกลับได้น้ำอ้อย แม้เธอถวายน้ำอ้อยนั้นแก่
ภิกษุผู้ชอบพอกัน ถือเอาน้ำมันจากมือของภิกษุผู้ชอบกันนั้น หรือ
แสวงหาน้ำมันอื่น กระทำเภสัช ก็เป็นผู้สันโดษแท้ นี้ชื่อว่า
ยถาพลสันโดษในคิลานปัจจัย ของภิกษุนั้น ภิกษุอีกรูปหนึ่ง มี
บุญมาก ได้เภสัชอันประณีต มีน้ำมันและน้ำอ้อยเป็นต้นเป็นอันมาก
เธอถวายเภสัชนั้นแก่พระเถระผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย
และผู้เป็นไข้ เหมือนจีวร แม้จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเภสัชอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง อันเขานำมาแล้วเพื่อภิกษุเหล่านั้น ก็เป็นผู้สันโดษแท้.
อนึ่งภิกษุใดเมื่อเขาใส่สมอดองน้ำมูตรลงในภาชนะหนึ่ง วางวัตถุมีรส
อร่อย 4 ลงในภาชนะหนึ่ง แล้วพูดว่าท่านขอรับ ท่านต้องการ
สิ่งใด จงถือเอาสิ่งนั้นไปเถิด ถ้าโรคของเธอสงบไป แม้ด้วยเภสัช
ทั้งสอง ชนิดใดชนิดหนึ่งไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ชื่อว่า สมอดองน้ำมูตร
บัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว จึงปฏิเสธ
ของมีรสอร่อย 4 อย่าง แม้กระทำเภสัชด้วยสมอดองน้ำมูตรก็เป็น
ผู้สันโดษอย่างยิ่ง นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัย ของ

ภิกษุนั้น. ก็บรรดาสันโดษ 3 ในปัจจัยเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ นี้ ยถา-
สารุปปสันโดษเป็นเลิศ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6 - 7



ในสูตรที่ 6 - 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
อโยนิโสมนสิการ และโยนิโสมนสิการ มีลักษณะดังกล่าว
แล้วในหนหลัง และคำที่เหลือในสูตรนี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 6 - 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสมฺปชญฺญํ ได้แก่ ความไม่รู้ตัว. คำว่า
อสมฺปชญฺญํ นี้ เป็นชื่อของโมหะ. บทว่า อสฺปชานสฺส ได้แก่ ผู้ไม่
รู้ตัว คือผู้หลง.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 8